วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส


โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis )

          เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus suis ในสกุล Streptococcus ในตระกูล Streptococcaeae ย้อมติดสี แกรมม่า รูปกลม ถูกจัดอยู่ใน Lancefield กลุ่ม D, R หรือ S สามารถสร้างแคปซูลและสลายเม็ดเลือดแดง มีการจัดแบ่งเชื้อตามลักษณะของ Capsular Antigen เป็นซีโรไทป์ (Serotype) ต่าง ๆ ถึง 29 Serotypes ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงในการก่อโรคของเชื้อแต่ละซีโรไทป์จะแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับสาร Muramidase-released protein (MRP) และ Extracellular protein (EP) ซึ่งพบว่า ซีโรไทป์ที่มีความรุนแรงสูงในการก่อโรคในคนคือ Serotype 2 และ 1 ตามลำดับ
          เชื้อแบคทีเรีย Streptococus suis เป็นเชื้อที่อยู่ในโพรงจมูกและต่อมน้ำลายของหมู เชื้อดังกล่าวพบได้ในหมูทั่วไปจนกลายเป็นเชื้อประจำถิ่น เมื่อหมูอยู่ในภาวะเครียด เช่น อยู่ในที่แออัด อากาศชื้นหรือหนาวจากฝนตกหนัก ภูมิคุ้มกันของหมูจะลดลง เชื้อดังกล่าวจึงฉวยโอกาสเข้าสู่กระแสเลือดทำให้หมูป่วยหรือตาย ส่วนเชื้อดังกล่าวเข้าสู่คนได้ 2 วิธี คือ เมื่อร่างกายคนมีแผลไปจับต้องหมูและกินเนื้อหมูหรือเลือดสด 

Streptococcus suis

อาการโรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส 
ระยะฟักตัวและอาการในสัตว์
               โดยปกติสุกรที่มีการติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ ส่วนใหญ่เชื้อจะอยู่บริเวณต่อมทอนซิลบริเวณเพดานปาก (palatine tonsil) และเยื่อเมือกบุในโพรงจมูก โดยปกติสุกรที่มีเชื้อ
เมื่อสุกรอยู่ในภาวะเครียด เช่น เลี้ยงอย่างแออัดอยู่ สภาพอากาศเย็น และมีระบบการถ่ายเทอากาศไม่ดี ทำให้ร่างกายสัตว์อ่อนแอเชื้อจะฉวยโอกาสจนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการสมองอักเสบ ข้ออักเสบแบบรุนแรง กล้ามเนื้อและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ มีการติดเชื้อในกระแสโลหิตจนถึงขั้นเสียชีวิต กลุ่มสุกรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นสุกรหย่านม สุกรขุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุกรที่อยู่ในช่วงอายุ 8 - 15 สัปดาห์
วิธีการติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน  คนสามารถติดเชื้อจากการสัมผัสกับสุกรที่ติดโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร คนทำงานในโรงฆ่าสัตว์ คนชำแหละเนื้อสุกร สัตวบาล และสัตวแพทย์ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล รอยถลอก หรือเยื่อบุตา รวมทั้งการบริโภคเนื้อสุกรที่ไม่ผ่านการปรุงสุกก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อนี้ได้
ระยะฟักตัวและอาการในคน ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1 - 3 วัน อาการที่พบได้แก่ มีไข้ คลื่นเหียน ปวดศีรษะ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ ม่านตาอักเสบ ผู้ป่วยอาจสูญเสียการได้ยิน จนถึงขั้นหูหนวก ภายหลังที่หายจากอาการป่วยแล้วอาจจะมีความผิดปกติในการทรงตัว ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตเนื่องมาจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต





การป้องกันและควบคุมโรค 
           เนื่องจากเชื้อนี้มีสุกรเป็นสัตว์พาหะนำโรคซึ่งมักไม่แสดงอาการป่วย ดังนั้นการเลี้ยงดูสุกรให้อยู่ในสภาวะสุขาภิบาลที่ดี เช่น ไม่เลี้ยงให้อยู่กันอย่างแออัด อากาศในโรงเรือนถ่ายเทได้ดี สามารถป้องกันความหนาวเย็นขณะที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหันได้ สุกรจะมีร่างกายแข็งแรง เชื้อ Streptococcus suis ที่มีอยู่ในช่องปากและโพรงจมูกก็ไม่สามารถเพิ่มจำนวนและฉวยโอกาสก่อให้เกิดโรคในสุกรได้ นอกจากนั้นแล้วควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสุกรดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ


ลาบสุก





โรค PRRS



 
เชื้อไวรัสจะถูกขับออกมาจากร่างกายของสุกรป่วย ทางอุจาระปัสสาวะลมหายใจ และน้ำเชื้อ และติดต่อไปยังสุกรตัวอื่นโดยการกิน หรือการสัมผัสโดยตรง เช่น การดม การเลีย หรือการผสมพันธุ์ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อผ่านอากาศที่หายใจ หรือผ่านวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในฟาร์มที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส 
เชื้อไวรัสสามารถแพร่ระบาดจากฟาร์มหนึ่งไปยังอีกฟาร์มหนึ่งได้โดยการเคลื่อนย้ายสุกรป่วย หรือสุกรที่เป็นพาหะของโรคเข้ามารวมฝูง โดยทั่วไปพบว่าเชื้อไวรัสที่ถูกขับออกจากร่างกายสุกรป่วย สามารถแพร่กระจายจากจุดเกิดโรคไปในอากาศได้ไกลถึงรัศมี 3 กิโลเมตร และหากมีองค์ประกอบของแรงลมเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจทำให้โรคแพร่กระจายได้ไกลขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า โรคสามารถแพร่ระบาดผ่านทางน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ไปยังฟาร์มอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะการผสมเทียม หรือแพร่เชื้อ ผ่านวัสดุ อุปกรณ์ หรือยานพาหนะ ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส รวมทั้งนก หนู หรือบุคลากรจากฟาร์มหนึ่งไปอีกฟาร์มหนึ่ง ส่วนการแพร่เชื้อไวรัสผ่านเนื้อสุกรหรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรยังไม่เป็นที่ชัดเจน




โดยลำพังเชื้อไวรัสพี อาร์ อาร์ เอส เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้สุกรแสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัด แต่ต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ มาประกอบกัน จึงทำให้แสดงอาการของโรคได้ อาการ และความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อไวรัส การจัดการดูแลสุขภาพสัตว์ความสะอาดในฟาร์ม การถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือน และสุขภาพของสุกรในฝูง
เมื่อมีการติดเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส ครั้งแรกในฟาร์ม เชื้อจะแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็วสุกรพันธุ์จะแท้งในช่วงท้ายของการตั้งท้อง มีลูกตายแรกคลอด หรืออ่อนแอ แคระแกร็น โตช้า สุกรดูดนมจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เชื้อไวรัสที่แพร่ระบาดในฟาร์มนี้จะกระตุ้น ให้สุกรส่วนใหญ่สร้างภุมิคุ้มกัน หลังจากนั้นเชื้อจะแพร่ระบาดในฟาร์มอย่างช้า ๆ การสูญเสียจะไม่รุนแรงส่วนใหญ่สร้างภูมิคุ้มกัน หลังจากนั้นเชื้อจะแพร่ระบาดในฟาร์มอย่างช้า ๆ การสูญเสียจะไม่รุนแรงส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะแอบแฝง เช่น ผลผลิตต่ำ หรือ มีการติดเชื้อแทรกซ้อนจากแบคทีเรียหรือไวรัสตัวอื่น ๆ ซึ่งปัญหาที่พบหลังจากที่ผ่านการระบาดครั้งแรกมาแล้ว คือ ปัญหาระบบทางเดินหายใจในสุกรหย่านม เนื่องจากภูมิคุ้มกันโรคที่ได้รับถ่ายทอดจากแม่ลดลง



การวินิจฉัยโรคโดยการตรวจหาภูมิคุ้มกัน โรคต่อเชื้อพี อาร์ อาร์ เอส และการตรวจแยกพิสูจน์เชื้อ โดยการเก็บตัวอย่างซีรั่มจากแม่สุกรที่แท้งลูก สุกรที่แท้งหรือตายแรกคลอด ซีรั่มของลูกสุกรป่วยหรืออวัยวะ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ทอนซิล ม้าม ปอด หรือส่งทั้งตัว โดยแช่เย็นในกระติกน้ำแข็ง และนำส่งทันที ถ้าไม่สามารถส่งตรวจได้ในวันนั้น ให้เก็บแช่ช่องแข็งและควรส่งตรวจ ภายใน 3 วัน โดยส่งตรวจได้ที่ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์




เนื่องจากโรค พี อาร์ อาร์ เอส มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสจึงยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ การรักษาสุกรที่ป่วยโรคนี้ จึงเป็นการรักษาตามอาการป่วย และการบำรุงร่างกายสัตว์ป่วย เช่น การให้สารเกลือแร่ วิตามิน การเปลี่ยนสูตรอาหารที่ให้พลังงานสูง และให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน ซึ่งอาจให้โดยการฉีด ผสมน้ำ หรือผสมอาหาร



1. สุกรที่จะนำเข้ามาทดแทนในฝูง ควรมาจากแหล่งที่ปลอดเชื้อไวรัสพี อาร์ อาร์ เอส
2. ก่อนจะนำสุกรใหม่เข้ามารวมฝูง ควรทำการกักกันอย่างน้อย 2 ขั้นตอน คือ กักที่ต้นทางก่อนการเคลื่อนย้าย และกักที่ปลายทางก่อนนำเข้ารวมฝูง ซึ่ง ระหว่างที่กักควรสุ่มตรวจหาโรค โดยวิธีทางซีรั่มวิทยาด้วย
3. จำกัดและควบคุมการเข้าออกฟาร์ม โดยอาจให้มีการเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือพ่น น้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม
4. ปัจจุบัน วัคซีนสำหรับป้องกันโรคพี อาร์ อาร์ เอส ที่มีอยู่ ยังมีข้อจำกัดใน การใช้อยู่หลายประการ ซึ่งเกษตรกรควรคำนึงถึง ดังนี้
4.1 ราคาแพง ดังนั้นควรคำนึงถึงความคุ้มทุน โดยเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการทำวัคซีน และความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกรณีที่ไม่ใช้วัคซีน เพราะโรคนี้ หากมีการจัดการที่ดี จะไม่ทำให้ เกิดอาการที่รุนแรง
4.2 ชนิดของเชื้อที่นำมาทำวัคซีน หากไม่ใช่เชื้อชนิดเดียวกัน หรือใกล้เคียงกับชนิดที่ทำให้เกิดโรคในฟาร์มจะให้ภูมิคุ้ม กันโรคที่ไม่ดี
4.3 ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นและตรวจพบจากซีรั่มไม่สามารถแยก ได้ว่าเกิดจากวัคซีนหรือการติดเชื้อ
4.4 วัคซีนที่ผลิตจากเนื้อเยื่อที่ไม่บริสุทธิ์ อาจนำโรคอื่น ๆ ติด มาถึงสุกรได้
4.5 การใช้วัคซีนเชื้อเป็นเชื้อไวรัสสามารถผ่านออกมาทางน้ำ เชื้อได้เป็นเวลานาน และอาจมีผลให้ตัวอสุจิมีรูปร่างผิดปกติและเคลื่อนไหวช้าลง นอกจากนี้ในสุกรอุ้มท้อง อาจผ่านรกไปถึงลูกอ่อน ทำให้เกิดการติดเชื้อในลูกอ่อนได้